ข่าวประชาสัมพันธ์
สิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการบริการของรัฐของผู้พิการ
8 มิถุนายน 2561

3416


สิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการบริการของรัฐของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
  สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ       คนพิการจะได้รับการสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 :   1. การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในสถานสงเคราะห์ 9 แห่งและฝึกอาชีพ 9 แห่ง ใน 11 สาขาวิชาชีพ หลักสูตร 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี 2. ให้การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยพิการ 3. เงินสงเคราะห์แก่ครอบครัว 4. เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท / คน 5. การจัดหางานให้ทำ 
  สิทธิประโยชน์สำหรับคนไร้ที่พึ่ง       คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน จะได้รับ : 1. อุปการะในสถานสงเคราะห์ 9 แห่ง และสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง 2. การช่วยเหลือจากหน่วยงานสำรวจและช่วยเหลือคนเร่ร่อน คนขอทาน
 
  สิทธิประโยชน์สำหรับคนไทยตกทุกข์ได้ยากกลับภูมิลำเนา       ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ จะได้รับ : 1. อุปการะในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน 4 แห่ง   2. เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท / คน สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3. การสงเคราะห์ครอบครัว ๆ ละไม่เกิน 2,000 บาท ติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง 4. การสงเคราะห์เงินทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้ป่วยเอดส์รายละไม่เกิน 5,000 บาท  
  สิทธิประโยชน์สำหรับครอบครัวผู้มีรายได้น้อย       ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย จะได้รับ : 1. การสงเคราะห์ครอบครัวไม่เกิน 3 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 2,000 บาท 2. การช่วยเหลือเป็นเงินทุนประกอบอาชีพกลุ่มย่อยครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท 3. บริการที่พักชั่วคราว
สิทธิประโยชน์สำหรับประชากรบนพื้นที่สูง       ประชากรบนพื้นที่สูง ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงจะได้รับบริการจากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา 14 แห่ง ดังนี้ : 1. การให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกินเป็นหลักแหล่งถาวร และเร่งรัดให้ได้รับการลงสัญชาติไทย 2. การส่งเสริมอาชีพทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร 3. การพัฒนาสังคม ส่งเสริมให้มีการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมชนเผ่า และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 4. การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน   5. การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 6. การสนับสนุนพระธรรมจาริกให้เผยแพร่พุทธศาสนาในหมู่บ้านชาวเขา
สิทธิประโยชน์สำหรับเด็ก / เยาวชน      
      เด็ก / เยาวชน แรกเกิด  - 18 ปี ที่อยู่อาศัยในสภาวะยากลำบาก หรืออยู่ในครอบครัวที่ประสบปัญหาจะได้รับสิทธิประโยชน์ / บริการจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังต่อไปนี้ กลุ่มเด็ก / เยาวชน ในสภาวะยากลำบาก ซึ่งได้แก่ เด็กกำพร้าถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน ประพฤติไม่สมควรแก่วัยถูกทารุณกรรม ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ครอบครัวมีฐานะยากจน โดยมุ่งเน้นให้บริการเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจสติปัญญา และสังคมที่ดีดังต่อไปนี้     1.การสงเคราะห์เด็กในสถานสงเคราะห์ / สถานแรกรับ / สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ดังนี้ 1.1 การดูแลเด็กอ่อนในสถานสงเคราะห์ (รับเด็กแรกเกิด - 6 ปี) มี 8 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น สงขลา เชียงใหม่ อุดรธานี และนครศรีธรรมราช       1.2 การดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็ก (รับเด็กอายุ 6 - 18 ปี) มี 12 แห่งใน 11 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา หนองคาย นราธิวาส ปัตตานี และยะลา       1.3 การดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์และฝึกอาชีพเด็กและเยาวชน มี 1 แห่ง คือ ที่จังหวัดศรีสะเกษ       1.4 การดูแลเด็กในสถานแรกรับและสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (รับเด็กอายุ 7 -18 ปี) ซึ่งมีสถานแรกรับเด็กชาย - หญิง จำนวน 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดขอนแก่น และระยอง 2. การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและพัฒนาเด็กในครอบครัว ชุมชน        2.1 การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจนประสบปัญญาความเดือดร้อนและสงเคราะห์เด็กนักเรียนขาดแคลน ดังนี้         1) ให้คำปรึกษาแนะนำ          2) การช่วยเหลือเป็นทุนประกอบอาชีพ ค่ารักษาพยาบาล เงินทุนการศึกษา หรือสิ่งของที่จำเป็น เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์การศึกษา โดย           - ให้การช่วยเหลือเป็นเงินในวงเงินครั้งละ 1,000 บาท ต่อเด็กหนึ่งคนในครอบครัว และไม่เกิน 3,000 บาทสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน           - ให้การช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของในคราวเดียวกันในวงเงินครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเด็กหนึ่งคนในครอบครัวและไม่เกิน 3,00 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน       2.2 การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์      จัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราวให้เด็กกำพร้าถูกทอดทิ้ง ในสถานสงเคราะห์และภายนอกสถานสงเคราะห์ โดยสนับสนุนค่าเลี้ยงดูเด็กให้ครอบครัวอุปถัมภ์รายละ 500 บาทต่อเดือน และหรือช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภค     2.3 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม      กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้จัดให้มีการดำเนินงานด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมให้แก่เด็กกำพร้า ด้อยโอกาส เด็กที่บิดามารดายินยอมยกให้ตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2533 ทั้งนี้ผู้ที่จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้          - อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และต้องมีอายุมากกว่าเด็กที่จะได้รับเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี         - ไม่เป็นผู้ที่ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็ก ตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์          - เป็นผู้ที่มีฐานะความเป็นอยู่มั่นคง มีทรัพย์สินหรือรายได้ที่แน่นอน          - เป็นครอบครัวสมบูรณ์ เวลาเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด          - เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์
 
 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ 1. ด้านการบริการทางแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวก และรวดเร็ว แก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ 2. ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 3. ด้านการประกอบอาชีพ หรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม 4. ด้านการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่าย หรือชุมชน 5. ด้านการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือการบริการสาธารณะอื่น 6. การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม 7. การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ 8. การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง 9. การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว 10. การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง 11. การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   12. การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี 
 
  สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู ไม่มีรายได้จะได้รับ : 1. การอุปการะในสถานสงเคราะห์ 20 แห่ง และศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ 19 แห่ง 2. การสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัดโดยชุมชน  
  สิทธิประโยชน์สำหรับสตรี       สตรีด้อยโอกาส เยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง สตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมจะได้รับ : 1. การฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี และเยาวสตรีด้อยโอกาสในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี 7 แห่งทุกภูมิภาค และให้บริการจัดหางานให้ทำตามความสมัครใจ ภายหลังสำเร็จการฝึกอบรมอาชีพ 2. การสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและฟื้นฟูปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ แก่เด็กและสตรีตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539สตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมหญิงและเด็ก ที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ 4 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาค   3. การฝึกอบรมอาชีพแก่สตรี และเยาวสตรีในชุมชน ตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบท 4. การอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนชาย - หญิง ตามโครงการรณรงค์ต้านการค้าประเวณี